การประเมินการกลืนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองการประเมินการกลืนโดยใช้ PMR Siriraj Swallowing Screening โดยจะเริ่มประเมินการกลืนในผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างคงที่ โดยสามารถ 1) ยกแขนได้สูงประมาณ 75-90 องศา นาน 15 นาที 2) สามารถที่จะทำได้ตามสั่งได้อย่างน้อย 2 คำสั่ง ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถกระทำได้ครบทั้งสองข้อ ก็ให้งดอาหารและน้ำทางปากต่อไป แต่ถ้าหากผู้ป่วยสามารถกระทำได้ทั้งสองข้อ ก็ให้ทำการทดสอบดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1 ทดสอบ Gag Reflex โดยให้ผู้ป่วยหุบปากหรือปิดปากได้โดยไม่มีน้ำลายไหลออกมามุมปาก และให้เคลื่อนไหวลิ้นไปมา ขั้นตอนที่ 2 ทดสอบ Voluntary Cough โดยให้ผู้ป่วยไอ ขั้นตอนที่ 3 ทดสอบ Dry Wwallow โดยให้ผู้ป่วยกลืนน้ำลายของตัวเอง ถ้าในการทดสอบผู้ป่วยสามารถผ่านได้ทั้งสามขั้นตอนก็ให้เริ่มทดสอบการกลืนน้ำต่อไป แต่ถ้าหากผู้ป่วยไม่สามารถผ่านได้มากกว่าหนึ่งข้อ ก็ต้องงดให้อาหารและน้ำทางปาก แล้วส่งปรึกษา OT เพื่อทำ Oromotor Exercise and Stimulation ต่อไป สำหรับการทดสอบการกลืนน้ำมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เริ่มให้น้ำครั้งละ 1 ช้อนชา จำนวน 3 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งให้สังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น มีไอ เสียงเปลี่ยน ลักษณะการกลืนช้าหรือยากหรือไม่ ขั้นตอนที่ 2 ถ้าไม่ผ่านให้ส่งผู้ป่วยปรึกษา OT เพื่อ Oromotor Exercise and Stimulation ต่อไป แต่ถ้าหากสามารถผ่านทั้ง 3 ครั้ง ก็ให้ทดสอบโดยการดื่มน้ำประมาณ 90 ซีซี ถ้าสามารถทำได้ก็ให้เริ่มรับประทานอาหารทางปากได้ โดยเลือกชนิดของอาหารให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย พร้อมทั้งสังเกตอาการหรือประเมินการกลืนของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดในการรับประทานอาหารโดยเฉพาะในมื้อแรก แต่ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถผ่านในขั้นตอนที่ 2 ให้ส่งผู้ป่วยไปฝึกการกลืนและหรือมีการปรับลักษณะของอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยการประเมินการกลืนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของสถาบันประสาทวิทยา ข้อบ่งชี้สำหรับในการประเมินการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่สถาบันประสาทวิทยากำหนดไว้มีดังนี้ 1) ผู้ป่วยจะต้องสามารถนั่งทรงตัวได้ดี 2) สามารถสื่อสารและทำตามคำสั่งได้ และ 3) มีคะแนน Glasgow Coma Scale มากกว่า 11 คะแนน ถ้าประเมินแล้วพบว่า ผู้ป่วยผ่านเกณฑ์ดังกล่าวขั้นต้น ก็ให้เริ่มประเมินการกลืนได้โดยมีวิธีการและขั้นตอนดังนี้ 1. ให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรง 90 องศา แล้วให้จิบน้ำเปล่า 1 ช้อนชา ถ้าพบว่า มีน้ำไหลออกจากปากก็งดให้อาหารและน้ำทางปากอย่างเด็ดขาด แล้วส่งปรึกษา Dysphagia Nurse/OT ต่อไป แต่ถ้าหากผู้ป่วยสามารถกลืนน้ำได้ไม่มีไหลออกจากปาก ก็ให้ทำขั้นตอนที่ 2 ต่อ 2.ให้ผู้ป่วยจิบน้ำเปล่าช้อนชาที่ 2 ถ้าหลังจิบน้ำแล้วมีไอ สำลัก เหนื่อย หายใจเร็วหรือมีเสียงน้ำในลำคอ ให้งดอาหารและน้ำทางปากอย่างเด็ดขาด แล้วส่งปรึกษา Dysphagia Nurse/OT ต่อไป แต่ถ้าหากผู้ป่วยสามารถกลืนน้ำได้โดยไม่มีอาการดังกล่าว ก็ให้ทำขั้นตอนที่ 3 ต่อ 3. ให้ผู้ป่วยจิบน้ำเปล่าช้อนชาที่ 3 ถ้าหลังจิบน้ำแล้วมีอาการผิดปกติดังในข้อที่ 3 ก็ให้งดอาหารและน้ำทางปากอย่างเด็ดขาด แล้วส่งปรึกษา Dysphagia Nurse/OT แต่ถ้าหากผู้ป่วยสามารถกลืนน้ำได้โดยไม่มีอาการดังกล่าว ก็ให้ทำขั้นตอนที่ 4 ต่อ 4. ให้ผู้ป่วยทดลองดื่มน้ำครึ่งแก้วหรือประมาณ 50 ซีซี ถ้าสามารถทำได้โดยไม่มีอาการผิดปกติ ก็สามารถให้รับประทานอาหารและน้ำได้ตามแผนการรักษาของแพทย์ แต่ต้องประเมินการกลืนอีกครั้งในมื้อถัดไปการประเมินการกลืนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในการทดสอบการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะมีขั้นตอนดังนี้ 1. เริ่มทดสอบด้วยอาหารประเภทฟักทองบด โดยใช้ช้อนตักฟักทองให้พอคำ ป้อนผู้ป่วยครั้งละ 1 ช้อน ถ้าหากช้อนแรก ไม่มีปัญหาก็ให้ป้อนอีก 2-3 ช้อน 2. หลังจากนั้นให้ทดสอบด้วยน้ำผึ้ง โดยตักน้ำผึ้งป้อนผู้ป่วยครั้งละ 1 ช้อน ถ้าช้อนแรก ไม่มีปัญหาให้ป้อนอีก 2-3 ช้อน เช่นกัน 3. ในขั้นตอนนี้จะทดสอบการกลืนด้วยอาหารประเภท Cracker โดยจะแบ่ง Cracker เป็นชิ้นพอคำป้อนให้ผู้ป่วย 3-4 คำ 4. ถ้าในแต่ละขั้นตอน 1-3 ผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ในขั้นตอนสุดท้ายก็จะให้ผู้ป่วยทดสอบด้วยการกลืนน้ำ โดยใช้ ช้อนป้อนให้ ข้อสังเกตสำหรับการทดสอบวิธีนี้จะเห็นว่า อาหารที่ใช้ทดสอบจะเรียงจากอาหารที่สามารถกลืนได้จากง่ายไปยาก โดยความหนืดข้นของอาหารจะมีจากมากไปน้อย ดังจะเห็นได้จากน้ำซึ่งกลืนยากที่สุดแต่กลับมีความหนืดข้นน้อยที่สุด จะถูกนำมาทดสอบในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งการแบ่งประเภทของอาหารที่จำแนกตามความหนืดของอาหาร จะสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ 1. อาหารข้นเป็นเนื้อเดียว (Pureed Diet) 2. อาหารเหลวมีความชุ่มชื้นสูงเนื้ออาหารอ่อนนิ่ม และกลืนได้ง่าย (Mechanical Altered Diet) 3. อาหารที่มีความแข็งและเหนียวใกล้เคียงอาหารปกติ แต่ชิ้นเล็กกว่า (Dyaphagia Advanced) 4. อาหารปกติ (Regular Diet) นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ได้ศึกษาเปรียบเทียบชนิดของอาหารที่มีผลต่อการกลืนของผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาท โดยทำการเปรียบเทียบการกลืนโดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มแรกใช้ชุดทดสอบการกลืน (n=19) และกลุ่มที่สองใช้น้ำอย่างเดียว (n=14) ผลการวิจัยที่แบ่งออกตามระดับของคะแนนที่ประเมินโดยใช้ National Institute of Health Stroke Scale (NIHSS) พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองที่มีคะแนน NIHSS อยู่ในระดับ 1-6 และ มากกว่า 14 สามารถผ่านการทดสอบและรับประทานทางได้ปากได้ร้อยละ 100 แต่ในกลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนน NIHSS อยู่ในระดับ 6-13 ผลการทดสอบจะแตกต่างกันโดยจำนวนของกลุ่มตัวอย่างที่ทดสอบด้วยการกลืนด้วยชุดทดสอบการกลืนจะมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ทดสอบด้วยการกลืนน้ำอย่างเดียว (ร้อยละ 100 และ 87.5 ตามลำดับ) ในปัจจุบันได้มีเครื่องมือที่ใช้สำหรับประเมินความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลายแบบ และที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเรียกว่า Functional Oral Intake Scale (FOIS) (Crary et al., 2005) โดยจะประเมินระดับของการกลืนจากชนิดหรือประเภทของอาหารที่กลืนได้ โดยแบ่งได้ 7 ระดับดังนี้ Level 1 งดการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำทางปาก Level 2 ยังคงให้อาหารทางสายยางเสริมด้วยทดลองให้รับประทานทางปากเล็กน้อย Level 3 รับประทานทางปากเหลวนุ่มหรือน้ำทางปากและเสริมด้วยการให้อาหารทางสายยาง Level 4 รับประทานทางปากด้วยอาหารอ่อนเป็นเนื้อเดียว Level 5 รับประทานทางปากที่ต้องบด/สับก่อน Level 6 รับประทานทางปากได้แต่หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง Level 7 รับประทานทางปากได้ตามปกติ จะเห็นได้ว่า ในการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรือผู้ป่วยที่มีภาวะการกลืนลำบากเนื่องมาจากการมีความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาทนั้น พยาบาลจะต้องเลือกประเภทของอาหารให้เหมาะสมกับความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยแต่ละราย โดยพยาบาลจะต้องมีการประเมินความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการสำลักที่อาจขึ้นได้ถ้าอาการของผู้ป่วยยังไม่ได้กลับคืนเข้าสู่สภาวะปกติอย่างแท้จริง นอกจากนี้การเลือกใช้แบบประเมินความสามารถในการกลืนก็ควรให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย การลงบันทึก ![]() อาจารย์อาภรณ์ คำก้อน ผู้ลิขิต |
ป้ายกำกับ: ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Aphasia)
ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Aphasia)
ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาจากสมองพิการ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อะเฟเซีย (Aphasia: การเสียการสื่อความ)” เป็นความบกพร่องของการสื่อสารเนื่องจากการมีพยาธิสภาพของสมองที่ควบคุมการพูดและภาษา ความผิดปกติทางภาษาและการพูดมักเกิดร่วมกับโรคอัม พาตซีกขวาในคนที่ถนัดมือขวา แต่เนื่องจากสมองส่วนที่เป็นศูนย์กลางการพูดและภาษา (Speech and language center) อยู่ที่สมองซีกซ้ายซึ่งควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกขวา ดังนั้นการกล่าวถึงสมองที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการพูดจึงหมายถึงสมองซีกซ้ายในคนถนัดขวา
สมองพิการเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง เช่น หลอดเลือดในสมองตีบตัน (Cerebral thrombosis) หลอดเลือดในสมองมีลิ่มเลือดอุดตัน (Cerebral embolism) หลอดเลือดในสมองแตกหรือการตกเลือดในสมอง (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง โรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดและชนิดเลือดออก) หรือสมองได้รับอุบัติเหตุ (Head injury) เช่น สมองได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือจากการกระทบกระเทือนจากผ่าตัดเอาเลือดคั่งหรือเนื้องอกในสมองออก ฯลฯ
การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาจากสมองพิการ เบื้องต้นควรเข้าใจสภาพจิตใจผู้ป่วย เนื่องจากเคยพูดสื่อสารและทำงานได้อย่างดี แต่ต้องกลายมาเป็นภาระต่อครอบครัว และทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยต้องการเวลาในการปรับตัว และต้องการกำลังใจจากบุคคลใกล้ชิด ครอบครัวจึงควรปฏิบัติตัวและให้การช่วยเหลือผู้ป่วย ดังนี้
- ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาทั้งด้านความเข้าใจและการพูด ให้เน้นฝึกด้านความเข้าใจก่อน
- เรียกผู้ป่วยให้ฟังและสนใจก่อนสอนพูดกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำอะไร หรือให้ตอบคำถามเสมอ
- ใช้ท่าทางและการพูดร่วมกันในการสื่อสารกับผู้ป่วย
- ใช้คำพูดง่ายๆ สั้นๆ ชัดเจน และมีรูปแบบเดียวกันในการสอนผู้ป่วยระยะแรกเช่นชี้ตาชี้หู ชี้ปากเป็นต้น
- รอให้ผู้ป่วยตอบสนองก่อน ประมาณ 5 วินาที แล้วจึงบอกใบ้คำ ตอบ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการออกเสียงของผู้ป่วย
- ช่วยพูดซ้ำๆ ขยายคำพูดของผู้ป่วย ต่อเติมในกรณีที่ผู้ป่วยพูดไม่ชัด พูดสั้นเกินไป
- ควรฝึกพูดก่อนฝึกกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัด
- ไม่ตกใจเมื่อผู้ป่วยพูดคำหยาบ
- กรณีที่ผู้ป่วยหัวเราะ หรือทำอะไรซ้ำๆ ซึ่งอาจเกิดจากการเหนื่อยล้าหรือ การฝึกมากเกินที่ผู้ป่วยจะรับได้ ให้ผู้ป่วยพักประมาณ 2-3 นาทีแล้วจึงฝึกต่อ
- เวลาในการฝึกพูดแต่ละครั้ง ประมาณ 20-30 นาที วันละประมาณ 3-4 ครั้ง
- ทำการประเมิน และวางแผนการฝึกพูด เพื่อรับโปรแกรมการฝึกพูดไปฝึกต่อที่บ้านได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วย และต้องนำผู้ป่วยไปติดตามการประเมินและการฝึกพูดเป็นระยะๆกับนักแก้ไขการพูดตามนัดเสมอ เพื่อปรับโปรแกรมการฝึกพูดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
ประเภทของความผิดปกติทางการพูดมี 2 แบบ
- การพูดไม่ชัด (Neurological articulation disorders) การออกกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการพูด 1.1การฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด ซ้ำๆ เร็วๆ ชัดๆ จนเหนื่อย แล้วพัก 2-3 นาที/กิจกรรม และทำกิจกรรมใหม่ต่อ โดยพิจารณาความสามารถของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์ กิจกรรมเหล่านี้ ได้แก่ การออกเสียง อา–อู อู–อี อา–อี ลัน ลัน ลัน ลา เปอะ-เตอะ-เกอะ เพอะ- เทอะ–เคอะกระดกลิ้นซ้ำๆ 1.2การฝึกพูดที่เรียงลำดับให้ชัดเจน ความสำคัญ คือการนับเลข -การท่องชื่อวันใน 1 สัปดาห์ -การท่องชื่อ 12 เดือนใน 1 ปี -การท่องสูตรคูณ -การท่องพยัญชนะ ก–ฮ -การอ่านหนังสือออกเสียง -การถามตอบ
- ในรายที่พูดเสียงเบา พูดประโยคสั้นๆแล้วเสียงหายไป ควรฝึกสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ แล้วลากเสียงสระยาวๆ อา อู อี โอ เอ แอ ออ เออ อือ สลับกัน
- การฝึกพูดกับบุคคลใกล้ชิด คนในครอบครัว และคนในสังคม และควรนำผู้ป่วยเข้าสังคมตามปกติ ไปซื้อของเพื่อให้มีการฝึกพูด และพัฒนาการพูดในบริบทที่เป็นธรรมชาติ การพูดไม่ชัดแบบมีความบกพร่องของสมองที่ควบคุมโปรแกรมการพูด(Aprasia of speech:AOS)
ทำให้การเรียบเรียงลำดับตำ แหน่งอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดบกพร่อง ผู้ป่วยจะพูดไม่ชัดโดยไม่พบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด การพูดไม่ชัดจะเกิดขึ้นในคำหรือวลี หรือประโยคที่ตั้งใจจะพูด แต่ในบางครั้งจะพูดได้ชัดเมื่อไม่ตั้งใจจะพูด การรักษาควรที่สาเหตุ การฟื้นฟูสมรรถภาพการพูดเป็นการรักษาลำดับแรกๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงการตรวจประเมินและการฝึกพูดที่ผู้ดูแลสามารถนำ ไปใช้กับผู้ป่วยและญาติที่มีปัญหาดังนี้
การฝึกพูด
-การฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด เช่น อ้าปาก ยิงฟัน ทำปากจู๋ เผยอปาก ฯลฯ
-การฝึกกิจกรรมการออกเสียงสระในพยางค์ง่ายๆ เช่น อา อู อี โอ เอ แอ ออ เออ
-ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ ที่ใช้ริมฝีปาก เช่น มอ ปอ พอ บอ เม เป เพ เบ ฯลฯ
-ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะต้นอื่นๆ เช่น ดา ตา ทา ชา จา กา คา งา ฯลฯ
-ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ 2 พยางค์ที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน เช่น อาอู อีเอ แอเออ ฯลฯ
-ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ 2 พยางค์ที่มีพยัญชนะต้นต่างกัน เช่น มาอู อีเบ แปเพอ ฯลฯ
-ฝึกการออกเสียงพูดคำที่มีความหมาย 1 2 3 พยางค์ วลี ประโยค ตามลำดับ เช่น มอมแมม แม่มา ปาบอล แม่ปาบอล พี่ทาปากแดง
โรคลมชัก (Epilepsy)
โรคลมชัก (Epilepsy) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของร่างกาย จนทำให้เกิดอาการชัก โรคลมชักสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ก็มักจะพบในผู้ป่วยเด็ก และผู้สูงอายุ โดยโรคลมชักนั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่สามารถช่วยให้อาการสงบและไม่มีอาการชักกำเริบได้หากผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง
You must be logged in to post a comment.