ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Aphasia)

d07803a1d6ff3fe0ead83f2daa7766dc.jpg
ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Aphasia)

ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Aphasia)

ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาจากสมองพิการ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อะเฟเซีย (Aphasia: การเสียการสื่อความ)” เป็นความบกพร่องของการสื่อสารเนื่องจากการมีพยาธิสภาพของสมองที่ควบคุมการพูดและภาษา ความผิดปกติทางภาษาและการพูดมักเกิดร่วมกับโรคอัม พาตซีกขวาในคนที่ถนัดมือขวา แต่เนื่องจากสมองส่วนที่เป็นศูนย์กลางการพูดและภาษา (Speech and language center) อยู่ที่สมองซีกซ้ายซึ่งควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกขวา ดังนั้นการกล่าวถึงสมองที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการพูดจึงหมายถึงสมองซีกซ้ายในคนถนัดขวา

สมองพิการเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง เช่น หลอดเลือดในสมองตีบตัน (Cerebral thrombosis) หลอดเลือดในสมองมีลิ่มเลือดอุดตัน (Cerebral embolism) หลอดเลือดในสมองแตกหรือการตกเลือดในสมอง (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง โรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดและชนิดเลือดออก) หรือสมองได้รับอุบัติเหตุ (Head injury) เช่น สมองได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือจากการกระทบกระเทือนจากผ่าตัดเอาเลือดคั่งหรือเนื้องอกในสมองออก ฯลฯ

การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาจากสมองพิการ เบื้องต้นควรเข้าใจสภาพจิตใจผู้ป่วย เนื่องจากเคยพูดสื่อสารและทำงานได้อย่างดี แต่ต้องกลายมาเป็นภาระต่อครอบครัว และทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยต้องการเวลาในการปรับตัว และต้องการกำลังใจจากบุคคลใกล้ชิด ครอบครัวจึงควรปฏิบัติตัวและให้การช่วยเหลือผู้ป่วย ดังนี้

  1. ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาทั้งด้านความเข้าใจและการพูด ให้เน้นฝึกด้านความเข้าใจก่อน
  2. เรียกผู้ป่วยให้ฟังและสนใจก่อนสอนพูดกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำอะไร หรือให้ตอบคำถามเสมอ
  3. ใช้ท่าทางและการพูดร่วมกันในการสื่อสารกับผู้ป่วย
  4. ใช้คำพูดง่ายๆ สั้นๆ ชัดเจน และมีรูปแบบเดียวกันในการสอนผู้ป่วยระยะแรกเช่นชี้ตาชี้หู ชี้ปากเป็นต้น
  5. รอให้ผู้ป่วยตอบสนองก่อน ประมาณ 5 วินาที แล้วจึงบอกใบ้คำ ตอบ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการออกเสียงของผู้ป่วย
  6. ช่วยพูดซ้ำๆ ขยายคำพูดของผู้ป่วย ต่อเติมในกรณีที่ผู้ป่วยพูดไม่ชัด พูดสั้นเกินไป
  7. ควรฝึกพูดก่อนฝึกกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัด
  8. ไม่ตกใจเมื่อผู้ป่วยพูดคำหยาบ
  9. กรณีที่ผู้ป่วยหัวเราะ หรือทำอะไรซ้ำๆ ซึ่งอาจเกิดจากการเหนื่อยล้าหรือ การฝึกมากเกินที่ผู้ป่วยจะรับได้ ให้ผู้ป่วยพักประมาณ 2-3 นาทีแล้วจึงฝึกต่อ
  10. เวลาในการฝึกพูดแต่ละครั้ง ประมาณ 20-30 นาที วันละประมาณ 3-4 ครั้ง
  11. ทำการประเมิน และวางแผนการฝึกพูด เพื่อรับโปรแกรมการฝึกพูดไปฝึกต่อที่บ้านได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วย และต้องนำผู้ป่วยไปติดตามการประเมินและการฝึกพูดเป็นระยะๆกับนักแก้ไขการพูดตามนัดเสมอ เพื่อปรับโปรแกรมการฝึกพูดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง 

ประเภทของความผิดปกติทางการพูดมี  2  แบบ

การฝึกพูด
การฝึกพูด
  1. การพูดไม่ชัด (Neurological articulation disorders)                                                                 การออกกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการพูด                                                                                        1.1การฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด ซ้ำๆ เร็วๆ ชัดๆ จนเหนื่อย แล้วพัก              2-3 นาที/กิจกรรม และทำกิจกรรมใหม่ต่อ โดยพิจารณาความสามารถของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์                  กิจกรรมเหล่านี้ ได้แก่ การออกเสียง อา–อู อู–อี อา–อี ลัน ลัน ลัน ลา เปอะ-เตอะ-เกอะ เพอะ-                 เทอะ–เคอะกระดกลิ้นซ้ำๆ                                                                                                            1.2การฝึกพูดที่เรียงลำดับให้ชัดเจน ความสำคัญ คือการนับเลข                                                                 -การท่องชื่อวันใน 1 สัปดาห์                                                                                                               -การท่องชื่อ 12 เดือนใน 1 ปี                                                                                                             -การท่องสูตรคูณ                                                                                                                                 -การท่องพยัญชนะ ก–ฮ                                                                                                                       -การอ่านหนังสือออกเสียง                                                                                                                   -การถามตอบ
  2. ในรายที่พูดเสียงเบา พูดประโยคสั้นๆแล้วเสียงหายไป ควรฝึกสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ แล้วลากเสียงสระยาวๆ อา อู อี โอ เอ แอ ออ เออ อือ สลับกัน
  3. การฝึกพูดกับบุคคลใกล้ชิด คนในครอบครัว และคนในสังคม และควรนำผู้ป่วยเข้าสังคมตามปกติ ไปซื้อของเพื่อให้มีการฝึกพูด และพัฒนาการพูดในบริบทที่เป็นธรรมชาติ                                            การพูดไม่ชัดแบบมีความบกพร่องของสมองที่ควบคุมโปรแกรมการพูด(Aprasia of speech:AOS)

 ทำให้การเรียบเรียงลำดับตำ แหน่งอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดบกพร่อง ผู้ป่วยจะพูดไม่ชัดโดยไม่พบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด การพูดไม่ชัดจะเกิดขึ้นในคำหรือวลี หรือประโยคที่ตั้งใจจะพูด แต่ในบางครั้งจะพูดได้ชัดเมื่อไม่ตั้งใจจะพูด  การรักษาควรที่สาเหตุ การฟื้นฟูสมรรถภาพการพูดเป็นการรักษาลำดับแรกๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงการตรวจประเมินและการฝึกพูดที่ผู้ดูแลสามารถนำ ไปใช้กับผู้ป่วยและญาติที่มีปัญหาดังนี้
การฝึกพูด

การฝึกออกเสียง

-การฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด เช่น อ้าปาก ยิงฟัน ทำปากจู๋ เผยอปาก ฯลฯ

-การฝึกกิจกรรมการออกเสียงสระในพยางค์ง่ายๆ เช่น อา อู อี โอ เอ แอ ออ เออ

-ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ ที่ใช้ริมฝีปาก เช่น มอ ปอ พอ บอ เม เป เพ เบ ฯลฯ

-ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะต้นอื่นๆ เช่น ดา ตา ทา ชา จา กา คา งา ฯลฯ

-ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ 2 พยางค์ที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน เช่น อาอู อีเอ แอเออ ฯลฯ

-ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ 2 พยางค์ที่มีพยัญชนะต้นต่างกัน เช่น มาอู อีเบ แปเพอ ฯลฯ

-ฝึกการออกเสียงพูดคำที่มีความหมาย 1 2 3 พยางค์ วลี ประโยค ตามลำดับ เช่น มอมแมม แม่มา ปาบอล แม่ปาบอล พี่ทาปากแดง

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

www.sansiriphysiotherapy.com